โครงการผลิตบัณฑิตครุศาสตร์สู่ความเป็นเลิศตามศาสตร์ กิจกรรมเข้าค่ายปฏิบัติการศึกษาดูงานเชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเมืองช่างเพชรบุรี ระหว่างวันที่ 28-31 มกราคม 2561 ณ จังหวัดเพชรบุรี
การจัดการการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรสาขาศิลปศึกษาให้มีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติจากสถานที่จริงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรม อีกทั้งพัฒนาศักยภาพทางกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ ความคิด และจิตอนุรักษ์ จากเรื่องราวศิลปกรรมไทย เรียนรู้การสร้างสรรค์ด้วยเทคนิควิธีการสู่การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ศิลปะไทย เป็นเอกลักษณ์ของชาติ ซึ่งภาคภูมิใจในความงดงามที่สืบอันยาวนานมาตั้งแต่อดีต ศิลปะไทยมีความประณีตอ่อนหวาน เป็นความงามอย่างวิจิตรเป็นความรู้สึกทางสุนทรียภาพโดยเฉพาะคนไทย ความเชื่อและประเพณีในท้องถิ่น แล้วถ่ายทอดเป็นวัฒนธรรมไทยอย่างงดงาม ที่สำคัญวัฒนธรรมช่วยส่งต่อคุณค่าความหมายของสิ่งอันเป็นที่ยอมรับในสังคมหนึ่ง ๆ ให้คนในสังคมนั้นได้รับรู้แล้วขยายไปในขอบเขตที่กว้างขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่การสื่อสารทางวัฒนธรรมนั้นกระทำโดยผ่านสัญลักษณ์ และสัญลักษณ์นี้คือผลงานของมนุษย์นั้นเองที่เรียกว่า ศิลปะไทย ปัจจุบันคำว่า “ศิลปะไทย” กำลังจะถูกลืมเมื่ออิทธิพลทางเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแทนที่สังคมเก่าของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกแห่งการสื่อสารได้ก้าวไปล้ำยุคมาก จนเกิดความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับสมัยอดีต โลกใหม่ยุคปัจจุบันทำให้คนไทยมีความคิดห่างไกลตัวเองมากขึ้น และอิทธิพลดังกล่าวนี้ทำให้คนไทยลืมตัวเราเองมากขึ้นจนกลายเป็นสิ่งสับสนอยู่กับสังคมใหม่อย่างไม่รู้ตัว มีความวุ่นวาย ด้วยอำนาจแห่งวัฒนธรรมสื่อสาร ที่รีบเร่งรวดเร็วจนลืมความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ การดำเนินการนำเสนอแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนศิลปะในครั้งนี้ จึงเป็นเสมือนการค้นหาอดีต โดยเราชาวศิลปะต้องการให้อนุชนได้มองเห็นถึง ความสำคัญของบรรพบุรุษ ผู้สร้างสรรค์ศิลปะไทย ให้เราทำหน้าที่สืบสานต่อไปในอนาคต
น.ณ ปากน้ำ หรือประยูร อนุชาฎะ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ ได้กล่าวถึง คุณค่าของภาพเขียนไทยในหนังสือ คุณค่าในศิลปะไทยว่า เขียนแบบไทยโบราณ เป็นลักษณะหนึ่งของศิลปะไทย ซึ่งจะขาดไม่ได้ และเป็นลักษณะพิเศษไม่ซ้ำแบบใครในตะวันออกไกล ตั้งแต่สมัยโบราณกาลมาแล้ว แม้ว่าวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของเราอาจจะได้รับมาจากอินเดีย เช่นพระพุทธศาสนา และขนบธรรมเนียมของพราหมณ์ แต่คนไทยก็ปรับปรุงให้เข้ากับนิสัยใจคอของเรา สิ่งใดที่เห็นดีด้วยก็น้อมรับเอามาปฏิบัติอย่างจริงจัง ดังคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ และจารีตธรรมเนียมที่ดีงามของพราหมณ์ แม้กระทั่งแบบอย่างของศิลปกรรม เช่น พระสถูปเจดีย์ พระพุทธรูปเป็นต้น วันใดที่ไม่เห็นดีไม่ชอบใจก็ไม่รับเอาเข้ามา เช่น ลักษณะลวดลายแบบอมราวดีของอินเดีย อันเป็นแบบอย่างที่ชนชาติอินเดีย ในอาณาจักรศรีวิชัยรวมทั้งชนชาติมอญและความนิยมกันมาก ทั้งนี้เพราะคนไทยมีแบบอย่างของตัวเองที่ดีงามโดยเฉพาะอยู่แล้ว ซึ่งเราเรียกว่าลักษณะลายไทยดั้งเดิมนี้ว่า ลายเครือสุวรรณภูมิ จึงไม่เอาอย่างตรงข้ามกับลักษณะลายไทยโบราณเครือสุวรรณภูมินี้ ไทยได้ถ่ายทอดให้แก่ศรีวิชัยและขอมอย่างเต็มที่ จนในสมัยอาณาจักรนี้ละทิ้งลายแบบอินเดียอย่างเด็ดขาด หันมานิยมลายแบบไทยแทนที่ ดังปรากฏให้เห็นอยู่แล้ว แม้แบบอย่างพระพุทธรูป เราก็สามารถปรับปรุงให้เป็นแบบไทยที่อ่อนโยน ดังเช่นพระพุทธรูปสุโขทัยของเรา เป็นลักษณะพิเศษที่ฉายรัศมีในวิญญาณของศิลปะไทยอย่างชัดเจนที่สุด ตลอดจนแบบอย่างของสถูปเจดีย์ เราตามอย่างอินเดียในสมัยแรกแรกเท่านั้น มาสมัยหลังคนไทยก็สามารถประดิษฐ์เป็นแบบอย่างของตนเองขึ้น ดังที่เห็นแบบพลาสติกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์สมัยพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งเป็นแบบไทยแท้สมัยสุโขทัย และพระเจดีย์เหลี่ยมสมัยอยุธยาของเรา ลักษณะที่ดีงามของ ภาพไทยก็คือ การแสดงความรู้สึก ลงด้วยเส้นที่อ่อนหวาน วงบอกให้เห็นถึงรสนิยมและคุณลักษณะพิเศษในสุนทรียภาพของชนชาติไทยปัจจุบันนี้ การสำรวจภาพเขียนของอยุธยาอาจจะทำให้เราเข้าใจมูลฐานแห่งภาพไทยได้ดียิ่งขึ้น แต่น่าเสียดายเพราะภาพเขียนสมัยอยุธยามีหลงเหลืออยู่ไม่กี่แห่ง พอนำสถานที่ได้คือที่วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ เนวัดพุทไธศวรรย์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และที่วัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรีนอกจากนี้ก็ยังมีอยู่ตามตู้พระธรรมเป็นรายลดน้ำ ตลอดจนในสมุดข่อยภาพเรื่องไตรภูมิพระร่วง ภาพเขียนที่พบส่วนมากชำรุดทางเส้น งานจิตรกรรมสมัยอยุธยาที่หลงเหลือไว้ให้เราพร้อมศึกษาได้ น่าเสียดายอย่างยิ่ง โดยที่ตามวัดสำคัญสมัยอยุธยา คงมีภาพเขียนบนผนังอุโบสถและพระวิหารทั่วไป การศึกษาในเรื่องพากย์ไทยซึ่งเป็นศิลปกรรมอันแท้จริงของเรานั้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับอารยชนผู้ไม่ลืมตนและไม่ลืมชาติไทยของตนเอง การที่เราเข้าใจและซาบซึ้งและอารยธรรมสากลแผนใหม่ซึ่งเป็นสิ่งดีอยู่แล้ว และเป็นกำไรของตัวเราเองที่อยู่ร่วมโดยสมาคมกับชาติต่างๆด้วยภาษากลางทางอารยธรรมแผนใหม่งั้นได้โดยไม่เคอะเขิน แต่ในทำนองเดียวกันเราไม่ควรลืมตัวเองเสีย จำเป็นที่น่าไปอย่างยิ่ง ถ้าหากเราไม่สามารถเข้าถึงวิญญาณอันปราณีตแบบไทยที่ซ่อนเร้นอยู่ในพากย์ไทยซึ่งเป็นศิลปะไทยแท้ๆ แต่กลับไปเข้าถึงการเขียนภาพแบบเซอร์เรียลลิสม์ หรือคิวบิก อย่างฝังจิตใจ ทำให้เราไม่ยอมหยุดหันมาพิจารณาศิลปะเดิมอีกต่อไป เด็กนักศึกษาศิลปะในยุคสมัยหนึ่งไม่ยอมเหลียวแลศิลปะไทยเราเสียเลย ชั่วโมงเรียนศิลปะไทยในสมัยนี้เท่ากับเป็นยาอันขมขื่นดีๆนั่นเอง
ภาพเขียนอันยอดเยี่ยมแห่งวัดสุวรรณาราม อาจกล่าวได้เต็มปากว่าเป็นภาพเขียนที่ทรงคุณค่ายิ่งใหญ่ของชาติไทย ซึ่งคุณค่าของภาพนั้นไม่แพ้ใครเลยในกระบวนการศิลปะประจำชาติในเอเชียอย่างนี้ ภาพเขียนในวัดสุวรรณารามนั้นเขียนด้วยสีหลายสีตามแบบไทย แปลให้ชีวิตวิญญาณของการระบายสีขั้นสูง นับว่าไม่มีภาพเขียนแบบไทยใดจะเทียบเคียงได้เท่าภาพเขียนในวัดสุวรรณารามแห่งนี้
โครงการเข้าค่ายปฏิบัติการศึกษาดูงานเชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเมืองช่างเพชรบุรี เป็นโครงการที่ให้นักศึกษาเรียนรู้วิธีคิด และกระบวนการ เทคนิค วิธีการ และรูปแบบตามแนวความคิดของผลงานศิลปะไทยและการอนุรักษ์โดยการใช้ ทักษะความรู้ความสามารถทางด้านศิลปะเป็นเครื่องมือ และการขับเคลื่อนการเรียนรู้ในการสร้างสรรค์พัฒนา ความคิด และจิตอนุรักษ์ จากเรื่องราวศิลปกรรมไทย เรียนรู้การสร้างสรรค์ด้วยเทคนิควิธีการจากรูปแบบศิลปไทยในแบบประเพณี ปรับใช้ในการเรียนการสอน อีกทั้งยังจัดกิจกรรมก่อให้เกิดทัศนคติด้านแนวคิดการอนุรักษ์และหวงแหนศิลปวัฒนธรรม